GSP คืออะไร
สำหรับครูคณิตศาสตร์ก็คงจะคุ้นเคยกันบ้างว่า GSP คืออะไร
Geometer’s Sketchpad (GSP) เป็นโปรแกรมสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ เรขาคณิตพลวัต ซึ่งทางบริษัท Key Curriculum Press ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้คิดค้นโปรแกรมตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงเวอร์ชัน 4.06 โปรแกรม GSP สามารถนำไปใช้ช่วยสอนในวิชาคณิตศาสตร์ได้ เช่น วิชาเรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ และแคลคูลัส
Geometer’s Sketchpad (GSP) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ครูสามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากนักและเกิดแนวคิดในการนำไปบูรณาการกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำให้นักเรียนเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร พัฒนานักเรียนให้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค ์ มีทักษะการจินตนาการ เกิดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สสวท. จึงซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรม GSP จากบริษัท Key 17 Curriculum Press และ แปลเป็นภาษาไทยเพื่อให้ครูสามารถใช้โปรแกรมในการสอน และ นักเรียนสามารถใช้ในการเรียนรู้ได้ง่าย และสะดวก
มาดูกันนะคะว่า GSP ทำอะไรได้บ้าง...และ GSP ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร
Key Curriculum Press (อำนาจ เชื้อบ่อคา. 2547 :14-16 ; อ้างถึง Key Curriculum
Press.2001 :1-101) ได้กล่าวถึงความสามารถของ GSP
1. ด้านศิลปะ และการเคลื่อนไหว (Art / Animation)
โปรแกรม GSP สามารถที่จะนำเครื่องมือมาสร้างรูปต่าง ๆ และสามารถใช้คำสั่งเพื่อที่จะทำให้รูป ดังกล่าว เคลื่อนไหวได้ตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
สื่อการสอนที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนจินตนาการภาพ ฝึกการกำหนด
ค่าตัวแปร ให้นักเรียนคิดสร้างฟังก์ชันของการเคลื่อนที่ของลูกปืน
|
ในวิชาแคลคูลัส เราสามารถใช้โปรแกรม GSP คำนวณหาปริมาตรของกล่องซึ่งเกิด
จากการตัดมุมทั้งสี่ของกระดาษ ซึ่งเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรของกล่องดังกล่าว
เมื่อมีการเคลื่อนไหว และนอกจากนี้ยังสามารถใช้โปรแกรม ดังกล่าวสร้างกราฟจากสมการ
ต่าง ๆได้ เช่นy = ax3 + bx2 + cx + d หรือรูปสมการอื่น ๆ ที่ต้องการได้
กล่องซึ่งเกิดจากการตัดมุมทั้งสี่ของกระดาษ |
ในโปรแกรม GSP สามารถที่จะใช้เครื่องมือ สร้างวงกลมที่ต้องการและสามารถที่จะ
วัดหาความยาวของรัศมี เส้นรอบวง และคำนวณหาพื้นที่ได้
การสร้างวงกลม และ การวัดหาความยาวของรัศมี เส้นรอบวง และคำนวณหาพื้นที่ |
ในภาคตัดกรวยโปรแกรม GSP สามารถที่จะสร้างวงกลม (Circle) วงรี (Ellipse)
พาราโบลา (Parabola) และ ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola) โดยการเคลื่อนที่จะทำให้เห็นร่อยรอย(Trace) ของกราฟ ซึ่งจะทำให้เห็นรูปต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ
ในการเขียนกราฟจากรูปสมการต่าง ๆ เช่น
y = a(x − h)2 + k
y = a(x − b)(x − c)(x − d )
y = a + lb(x − c)l + d
6. เส้นตรงและมุม (Line and Angles)
ในการสร้างเส้นตรงและมุมโดยการใช้โปรแกรม GSP สามารถทำได้โดยง่าย ซึ่งเมื่อ
ได้ทำการสร้างเส้นตรงและมุมเสร็จแล้วสามารถที่จะวัดขนาดส่วนของเส้นตรงและมุมดังกล่าวได้
ด้วยความสามารถและสมบัติดังกล่าวทำให้สรุปเนื้อหา และทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องเส้นตรงและมุมได้
7. รูปสามเหลี่ยม (Triangles)
เมื่อสร้างรูปสามเหลี่ยมโดยการใช้โปรแกรม สามารถที่จะใช้คำสั่งในโปรแกรมเพื่อ
คำนวณหาความยาวของด้านแต่ละด้าน มุมแต่ละมุม และคำนวณหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อโยกจุดยอดของสามเหลี่ยมไปอยู่ ณ ตำแหน่งต่าง ๆ โดยที่
ความสูงเท่าเดิมพื้นที่ของสามเหลี่ยมย่อมคงที่เสมอ นอกจากนั้นยังสามารถหา
จุดออร์โทเซนเตอร์ (Orthocenter) ของสามเหลี่ยมได้อีกด้วย
8. ตรีโกณมิติ (Trigonometry)
การสร้างวงกลมหนึ่งหน่วย เพื่อหาฟังก์ชันตรีโกณมิติ โดยใช้โปรแกรมGSP |
ในการหาฟังก์ชันตรีโกณมิติโดยใช้โปรแกรม GSPกระทำได้โดยสร้างวงกลมหนึ่งหน่วย (Unit Circle) เมื่อกำหนดมุม A ก็สามารถหาค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม A ได้ตามต้องการ ดังรูป
จากความสามารถของ GSP ที่ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้ามานั้น จะเห็นได้ว่า GSP ในด้านคณิตศาสตร์นั้น GSP จะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น กล่าวคือ GSP สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวและทำให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ต่างๆในทางคณิตศาสตร์ได้ และจากประสบการณ์ของผู้เขียนซึ่งเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์นั้นได้มีโอกาสได้นำ GSP ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเรื่อง พาราโบลา โดย GSP สามารถทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหวและทำให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของกราฟกับสมการพาราโบลา นอกจากนี้ผู้เขียนยังใช้ GSP ในการสร้างเอกสารประกอบการเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับรูปเรขาคณิต ซึ่งทำให้สร้างได้สะดวก รวดเร็ว และสวยงามมากกว่าการใช้ word ธรรมดา ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้เขียนยังเชื่อว่า GSP ยังสามารถสร้างประโยชน์หรือทำอะไรได้อีกหลายอย่าง หากแต่ไม่มีเวลาศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้อย่างจริงจัง ผู้เขียนหวังว่าการนำเสนอในครั้งนี้จะทำให้ผู้อ่านมีความสนใจและนำ GSP ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน หรือนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ
แหล่งอ้างอิง :
วิมล อยู่พิพัฒน์. 2551.. บทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม GSP
(GEOMETER’S SKETCHPAD)ที่เน้นทักษะการเชื่อมโยง เรื่อง การวัด
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น