วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สื่อ สื่อสาร การศึกษา

สื่
            
            "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ 
            "สื่อ" (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน 
            "สื่อ" (นาม)   หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อ ติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำใหชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม 
  
             นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้
              Heinich และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ 

               "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร"
               A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"
 


              ดังนั้นสื่อ จึงหมายถึงตัวเชื่อมที่ทำให้ผู้ส่งสาร (ครู) และผู้รับสาร (นักเรียน) สามารถเข้าใจหรือสามารถรับสารได้ตามวัตถุประสงค์้ที่ผู้ส่งสารต้องการให้เกิดกับผู้รับสาร ตลอดจนทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะสื่อมากขึ้น

              ในทางการศึกษาสื่อการสอนจึงมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนในแต่ละคาบเรียนมาก จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนจากประสบการณ์ของตนเองว่าในคาบเรียนใดที่มีสื่อการสอน นักเรียนจะตั้งใจ และสนใจเรียนกับเรามากกว่าปกติ สื่อสามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจในมโนทัศน์ของเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น และในการผลิตสื่อประกอบการสอนนั้น สิ่งที่เราคำนึงถึงตลอด คือ สื่อการสอนนั้นจะต้องทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ (สื่อจะต้องสื่อ) ไม่ใช่สร้างขึ้นมาเพียงเพื่อทุ่นแรงครูผู้สอน ดังนั้นในการผลิตสื่อการสอนจึงต้องคำนึงถึงสิ่งนี้เป็นสิ่งแรก โดยจะตั้งเป้าหมายไว้ว่าเราจะผลิตสื่อชิ้นนี้เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียน รู้อย่างไร และสิ่งต่อมาก็คือองค์ประกอบย่อยต่างๆ เช่นขนาดของสื่อ นักเรียนในแต่ละห้องเรียนมีจำนวนมาก หากสื่อมีขนาดเล็กนักเรียนที่นั่งหลังห้องจะมองไม่เห็น และจะรู้สึกว่าไม่ได้รับการเอาใจใส่ จะทำให้นักเรียนไม่ร่วมกิจกรรมในคาบเรียน แต่หากสื่อมีขนาดใหญ่ ตัวอักษรและภาพชัดเจน นักเรียนก็จะให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้ทั้งห้อง เรียน  และในปัจจุบันนอกจากสื่อมือแล้วยังมีสื่อทางเทคโนโลยีอีกมากมายที่สามารถเข้ามามีบทบาทในการศึกษา ซึ่งเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนั้นเทคโนโลยีมีบทบาทอย่างมากกับคนทุกเพศทุกวัน เพราะฉะนั้นครูจึงควรมีความรู้ทางเทคโนโลยี ตลอดจนนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น เช่น ในการจัดการเรียนการสอนเรื่องอาเซียน ถ้าเราใช้วิดีโอมานำเสนอก็จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายมากขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
http://www.youtube.com/watch?v=aiQhqN-NdQc

     จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าการใช้การ์ตูนถ่ายทอดเป็นเรื่องราวสามารถสื่อสารออกมาให้ผู้ดูหรือผู้ที่รับสารเข้าใจเรื่องอาเซียน ถึงแม้ภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาอังกฤษ คนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษก็สามารถเข้าใจได้ด้วยเรื่องราวและรูปภาพการ์ตูนที่สื่อสื่อออกมา
      
สื่าร
       คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อมีผลต่อการสื่อสารทางการศึกษา  สื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น โดยสื่อสามารถสื่อสารให้ผูเรียนเข้าใจในสิ่งที่ผู้สอนจะอธิบาย  แต่อย่างไรก็ตามการที่สื่อจะสื่อสารการศึกษาออกมาได้ดีเพียงใด ต้องขึ้นอยู่กับครูผู้สอนว่าจะสารถนำสื่อมาใช้ไปในทิศทางใด และสื่อนั้นได้รับการตอบรับจากผู้เรียนหรือไม่ ในขณะเดียวกันผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำเสนอสื่อใหม่ๆหรือเลือกใช้สื่อในการเรียนการสอนเช่นกัน

แหล่งอ้างอิง :

http://uto.moph.go.th/hcc/media1.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น