วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เล่นกอล์ฟ...

ปัจจุบันนักกีฬากลายเป็นฮีโร่ของประเทศ
ไม่ว่าจะเป็น "น้องเมย์" รัชนก อินทนนท์ นักแบตมินตันหญิงแชมป์โลกคนแรกของไทย
                     วอลเลย์หญิงบอลไทย  แชมป์เอเชีย
 และกลายเป็นฮีโร่ของเด็กๆหลายๆคน คงจะมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ยึดบุคคลเหล่านี้เป็นต้นแบบ และอยากจะเป็นเหมือนบุคคลเหล่านี้

กอล์ฟ...ก็เป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมเล่นกันทั่วไป ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่ากอล์ฟเป็นกีฬายอดฮิตติดอันดับของเมืองไทยก็ว่าได้ เพราะ นิยมเล่นกันทั้งระดับผู้บริหาร ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชนทั่วไป หรือแม้กระทั่งเด็กๆ หรือเยาวชน ซึ่งปัจจุบันก็กีฬากอล์ฟกลายเป็นกิจกรรมของครอบครัว เล่นทั้งพ่อ แม่ ลูก นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังทำให้ได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวด้วย หลายๆคน
อาจจะมองว่ากอล์ฟเป็นกีฬาที่ห่างไกลตัว หรือเป็นกีฬาที่จะเล่นได้เมื่ออยู่ในสนามกอล์ฟเท่านั้น  และอาจจะมีหลายๆครอบครัวที่ลูกอยากเล่นกอล์ฟแต่พ่อแม่ไม่มีเวลามากพอที่จะไปสนามกอล์ฟหรือไม่มีเงินเสียค่าใช้จ่ายในการไปสนามกอล์ฟ ไม่มีเงินในการจ้างโปรกอล์ฟในการสอน นั้นจไม่ใช่ข้อจำกัดอีกต่อไป  เพราะเทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนช่วยในการเรียนกอล์ฟ และการฝึกในระยะเริ่มแรกอาจจะใช้ พื้นที่ในบ้านเพียงเล็กน้อย สำหรับการฝึกเล่นกอล์ฟ และนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเรียนกอล์ฟขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ที่สนใจ

จากคลิปจะเป็นการฝึกเล่นกอล์ฟขั้นพื้นฐาน ซึ่งอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆสำหรับการเป็นโปรกอล์ฟในอนาคตของเด็กหลายๆคนก็ได้

การเล่นกีฬาไม่ว่าจะเป้นกีฬาชนิดใด การฝึกฝนถือเป็นหัวใจสำคัญในการเล่นกีฬา การเล่นกีฬาให้ประโยชน์มากมายนอกเหนือจากการที่ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง กอล์ฟก็เช่นเดียวกัน กอล์ฟเป็นกีฬาที่สนุกสนาน กอล์ฟเป็นกีฬาที่ท้ายทาย....เสน่ห์กอล์ฟ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

GSP

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก GSP กันก่อนคะ

GSP คืออะไร

สำหรับครูคณิตศาสตร์ก็คงจะคุ้นเคยกันบ้างว่า GSP คืออะไร

Geometer’s Sketchpad (GSP) เป็นโปรแกรมสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ เรขาคณิตพลวัต ซึ่งทางบริษัท Key Curriculum Press ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้คิดค้นโปรแกรมตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงเวอร์ชัน 4.06 โปรแกรม GSP สามารถนำไปใช้ช่วยสอนในวิชาคณิตศาสตร์ได้ เช่น วิชาเรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ และแคลคูลัส

Geometer’s Sketchpad (GSP) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ครูสามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากนักและเกิดแนวคิดในการนำไปบูรณาการกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   สามารถทำให้นักเรียนเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร พัฒนานักเรียนให้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค ์ มีทักษะการจินตนาการ เกิดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สสวท. จึงซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรม GSP จากบริษัท Key 17 Curriculum Press และ แปลเป็นภาษาไทยเพื่อให้ครูสามารถใช้โปรแกรมในการสอน และ นักเรียนสามารถใช้ในการเรียนรู้ได้ง่าย และสะดวก

มาดูกันนะคะว่า GSP ทำอะไรได้บ้าง...และ GSP ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร

           Key Curriculum Press (อำนาจ เชื้อบ่อคา. 2547 :14-16 ; อ้างถึง Key Curriculum
Press.2001 :1-101) ได้กล่าวถึงความสามารถของ GSP

1. ด้านศิลปะ และการเคลื่อนไหว (Art / Animation)
           โปรแกรม GSP สามารถที่จะนำเครื่องมือมาสร้างรูปต่าง ๆ และสามารถใช้คำสั่งเพื่อที่จะทำให้รูป ดังกล่าว เคลื่อนไหวได้ตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
สื่อการสอนที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนจินตนาการภาพ ฝึกการกำหนด
ค่าตัวแปร ให้นักเรียนคิดสร้างฟังก์ชันของการเคลื่อนที่ของลูกปืน
2. วิชาแคลคูลัส (Calculus)
             ในวิชาแคลคูลัส เราสามารถใช้โปรแกรม GSP คำนวณหาปริมาตรของกล่องซึ่งเกิด
จากการตัดมุมทั้งสี่ของกระดาษ ซึ่งเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรของกล่องดังกล่าว
เมื่อมีการเคลื่อนไหว และนอกจากนี้ยังสามารถใช้โปรแกรม ดังกล่าวสร้างกราฟจากสมการ
ต่าง ๆได้ เช่นy = ax3 + bx2 + cx + d หรือรูปสมการอื่น ๆ ที่ต้องการได้

กล่องซึ่งเกิดจากการตัดมุมทั้งสี่ของกระดาษ
3. วงกลม (Circles)
           ในโปรแกรม GSP สามารถที่จะใช้เครื่องมือ สร้างวงกลมที่ต้องการและสามารถที่จะ
วัดหาความยาวของรัศมี เส้นรอบวง และคำนวณหาพื้นที่ได้



การสร้างวงกลม และ การวัดหาความยาวของรัศมี เส้นรอบวง และคำนวณหาพื้นที่
4. ภาคตัดกรวย (Conic Section)
            ในภาคตัดกรวยโปรแกรม GSP สามารถที่จะสร้างวงกลม (Circle) วงรี (Ellipse)
พาราโบลา (Parabola) และ ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola) โดยการเคลื่อนที่จะทำให้เห็นร่อยรอย(Trace) ของกราฟ ซึ่งจะทำให้เห็นรูปต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ

5. การเขียนกราฟและการหาจุดโคออร์ดิเนตในเรขาคณิต

       ในการเขียนกราฟจากรูปสมการต่าง ๆ เช่น
        y = a(x − h)2 + k
        y = a(x − b)(x − c)(x − d )
        y = a + lb(x − c)l + d

6. เส้นตรงและมุม (Line and Angles)
         ในการสร้างเส้นตรงและมุมโดยการใช้โปรแกรม GSP สามารถทำได้โดยง่าย ซึ่งเมื่อ
ได้ทำการสร้างเส้นตรงและมุมเสร็จแล้วสามารถที่จะวัดขนาดส่วนของเส้นตรงและมุมดังกล่าวได้
ด้วยความสามารถและสมบัติดังกล่าวทำให้สรุปเนื้อหา และทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องเส้นตรงและมุมได้

7. รูปสามเหลี่ยม (Triangles)
         เมื่อสร้างรูปสามเหลี่ยมโดยการใช้โปรแกรม สามารถที่จะใช้คำสั่งในโปรแกรมเพื่อ
คำนวณหาความยาวของด้านแต่ละด้าน มุมแต่ละมุม และคำนวณหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อโยกจุดยอดของสามเหลี่ยมไปอยู่ ณ ตำแหน่งต่าง ๆ โดยที่
ความสูงเท่าเดิมพื้นที่ของสามเหลี่ยมย่อมคงที่เสมอ นอกจากนั้นยังสามารถหา
จุดออร์โทเซนเตอร์ (Orthocenter) ของสามเหลี่ยมได้อีกด้วย

8. ตรีโกณมิติ (Trigonometry)
การสร้างวงกลมหนึ่งหน่วย เพื่อหาฟังก์ชันตรีโกณมิติ โดยใช้โปรแกรมGSP


 ในการหาฟังก์ชันตรีโกณมิติโดยใช้โปรแกรม GSPกระทำได้โดยสร้างวงกลมหนึ่งหน่วย (Unit Circle) เมื่อกำหนดมุม A ก็สามารถหาค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม A ได้ตามต้องการ ดังรูป





จากความสามารถของ GSP ที่ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้ามานั้น   จะเห็นได้ว่า GSP ในด้านคณิตศาสตร์นั้น GSP จะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น กล่าวคือ GSP สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวและทำให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ต่างๆในทางคณิตศาสตร์ได้ และจากประสบการณ์ของผู้เขียนซึ่งเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์นั้นได้มีโอกาสได้นำ GSP ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเรื่อง พาราโบลา โดย GSP สามารถทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหวและทำให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของกราฟกับสมการพาราโบลา นอกจากนี้ผู้เขียนยังใช้ GSP ในการสร้างเอกสารประกอบการเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับรูปเรขาคณิต ซึ่งทำให้สร้างได้สะดวก รวดเร็ว และสวยงามมากกว่าการใช้ word ธรรมดา ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้เขียนยังเชื่อว่า GSP ยังสามารถสร้างประโยชน์หรือทำอะไรได้อีกหลายอย่าง หากแต่ไม่มีเวลาศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้อย่างจริงจัง  ผู้เขียนหวังว่าการนำเสนอในครั้งนี้จะทำให้ผู้อ่านมีความสนใจและนำ GSP ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน หรือนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ

แหล่งอ้างอิง :


วิมล อยู่พิพัฒน์. 2551.. บทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม GSP 
              (GEOMETER’S SKETCHPAD)ที่เน้นทักษะการเชื่อมโยง เรื่อง การวัด 
              สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษา
              มหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.




วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สื่อ สื่อสาร การศึกษา

สื่
            
            "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ 
            "สื่อ" (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน 
            "สื่อ" (นาม)   หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อ ติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำใหชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม 
  
             นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้
              Heinich และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ 

               "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร"
               A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"
 


              ดังนั้นสื่อ จึงหมายถึงตัวเชื่อมที่ทำให้ผู้ส่งสาร (ครู) และผู้รับสาร (นักเรียน) สามารถเข้าใจหรือสามารถรับสารได้ตามวัตถุประสงค์้ที่ผู้ส่งสารต้องการให้เกิดกับผู้รับสาร ตลอดจนทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะสื่อมากขึ้น

              ในทางการศึกษาสื่อการสอนจึงมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนในแต่ละคาบเรียนมาก จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนจากประสบการณ์ของตนเองว่าในคาบเรียนใดที่มีสื่อการสอน นักเรียนจะตั้งใจ และสนใจเรียนกับเรามากกว่าปกติ สื่อสามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจในมโนทัศน์ของเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น และในการผลิตสื่อประกอบการสอนนั้น สิ่งที่เราคำนึงถึงตลอด คือ สื่อการสอนนั้นจะต้องทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ (สื่อจะต้องสื่อ) ไม่ใช่สร้างขึ้นมาเพียงเพื่อทุ่นแรงครูผู้สอน ดังนั้นในการผลิตสื่อการสอนจึงต้องคำนึงถึงสิ่งนี้เป็นสิ่งแรก โดยจะตั้งเป้าหมายไว้ว่าเราจะผลิตสื่อชิ้นนี้เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียน รู้อย่างไร และสิ่งต่อมาก็คือองค์ประกอบย่อยต่างๆ เช่นขนาดของสื่อ นักเรียนในแต่ละห้องเรียนมีจำนวนมาก หากสื่อมีขนาดเล็กนักเรียนที่นั่งหลังห้องจะมองไม่เห็น และจะรู้สึกว่าไม่ได้รับการเอาใจใส่ จะทำให้นักเรียนไม่ร่วมกิจกรรมในคาบเรียน แต่หากสื่อมีขนาดใหญ่ ตัวอักษรและภาพชัดเจน นักเรียนก็จะให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้ทั้งห้อง เรียน  และในปัจจุบันนอกจากสื่อมือแล้วยังมีสื่อทางเทคโนโลยีอีกมากมายที่สามารถเข้ามามีบทบาทในการศึกษา ซึ่งเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนั้นเทคโนโลยีมีบทบาทอย่างมากกับคนทุกเพศทุกวัน เพราะฉะนั้นครูจึงควรมีความรู้ทางเทคโนโลยี ตลอดจนนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น เช่น ในการจัดการเรียนการสอนเรื่องอาเซียน ถ้าเราใช้วิดีโอมานำเสนอก็จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายมากขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
http://www.youtube.com/watch?v=aiQhqN-NdQc

     จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าการใช้การ์ตูนถ่ายทอดเป็นเรื่องราวสามารถสื่อสารออกมาให้ผู้ดูหรือผู้ที่รับสารเข้าใจเรื่องอาเซียน ถึงแม้ภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาอังกฤษ คนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษก็สามารถเข้าใจได้ด้วยเรื่องราวและรูปภาพการ์ตูนที่สื่อสื่อออกมา
      
สื่าร
       คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อมีผลต่อการสื่อสารทางการศึกษา  สื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น โดยสื่อสามารถสื่อสารให้ผูเรียนเข้าใจในสิ่งที่ผู้สอนจะอธิบาย  แต่อย่างไรก็ตามการที่สื่อจะสื่อสารการศึกษาออกมาได้ดีเพียงใด ต้องขึ้นอยู่กับครูผู้สอนว่าจะสารถนำสื่อมาใช้ไปในทิศทางใด และสื่อนั้นได้รับการตอบรับจากผู้เรียนหรือไม่ ในขณะเดียวกันผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำเสนอสื่อใหม่ๆหรือเลือกใช้สื่อในการเรียนการสอนเช่นกัน

แหล่งอ้างอิง :

http://uto.moph.go.th/hcc/media1.html



วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนแปลง...เริ่มที่ตัวเรา (ครู)..สู่ศตวรรษที่ 21



ตื่นเถิดชาวไทยอย่ามัวหลับใหลลุ่มหลง...ชาติจะเรืองดำรงก็เพราะเราทั้งหลาย

หลายๆคนคงจะเคยได้ฟังเพลงนี้นะคะ...ผู้เขียนอยากจะให้เนื้อเพลงท่อนนี้ปลุกใจให้คนไทยทุกคนตื่นตัวและตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 โลกที่มีเทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อนสังคม โลกที่ทุกคนบนโลกใบนี้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้  หรือกล่าวได้ว่าสังคมของเรากว้างขึ้น ซึ่งในปี 2558 เราจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คำถามที่ผู้เขียนมักพบเจอหรือผู้คนมากมายชอบตั้งคือ ประเทศไทยพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนหรือยัง??? ทุกคนถามว่าพร้อมหรือยัง แต่ไม่ได้ย้อนกลับมามองตัวเอง ถามไปงั้นๆแหละ  (อีกตั้งนาน อีก 2-3 ปี เดี๋ยวถึงเวลาก็พร้อมเอง คงจะมีคนมิน้อยที่คิดแบบนี้)  ก็เพราะคนส่วนใหญ่คิดแบบนี้...จึงทำให้ประเทศของเรายังไม่ถึงจุดที่พร้อม...
แล้วเราจะทำอย่างไรให้คนไทยพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน...


คงจะปฏิเสธมิได้ว่าการศึกษาและสังคมนั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
การศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ และประชาชนทุกคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ดังนั้นการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และ  "ครู" คือ หัวใจหลักในการพัฒนาการศึกษา พัฒนาคน และพัฒนาชาติ   

ถึงเวลาแล้วที่"ครู"จะต้องเปลี่ยนแปลง 

เพราะถ้าหากเรายังยึดติดกับกระบวนการ กระบวนทัศน์ หรือวิธีการเดิมๆ ก็จะส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนไม่สอดคล้องกับโลกที่กำลังจะเปลี่ยนไป

รองศาสตราจารย์ ดร. วิสาโรจน์ สารวัตนะ ได้เสนอประเด็นและข้อคิดจากหนังสือกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21

 ซึ่งในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการใช้ชีวิต ดันั้นครูจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้เทคโนโลยีและรู้จักนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ การจัดการเรียนการสอน  จะทำให้ผู้เรียนซึ่งเป็นผู้ที่เข้าถึงเทคโนโลยีรู้สึกสนุกและเกิดแรงจูงใจในการเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางเพิ่มเติม




เดิมห้องเรียนเป็นโลกใหม่โลกเป็นห้องเรียน

จะเห็นได้ว่าถ้าเราสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน จะทำให้การเรียนการสอนนั้นมีความยืดหยุ่น  ไม่น่าเบื่อ 
ทำให้ผู้เรียนและครูไม่เครียด





และควรจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ แบบร่วมมือ หรือให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้  ให้ผู้เรียนได้เสนอในสิ่งที่อยากเรียน เรียนรู้จากการลงมือทำ จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต




นอกจากนี้สิ่งที่ครูจะต้องเพิ่มเติมให้กับนักเรียนคือ      ทักษะแห่งอนาคตใหม่ ก้าวเรียนรู้ในศตรวรรษที่ 21

ทักษะแห่งอนาคตใหม่จะช่วยให้ผู้เรียนใช้ชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน โลกที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา การยอมรับความแตกต่าง ซึ่งกันและกันได้ดีขึ้น และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ใช่เก็บแต่ความรู้ไว้ในตำราเท่านั้น



จากประเด็นต่างๆที่ผู้เขียนได้ศึกษาและนำเสนอมานั้น จะเกิดขึ้นจริงมิได้หากไม่มีการเริ่มต้น การเริ่มต้นอยากเสมอแต่ทุกๆอย่างจะต้องมีการเริ่มต้นถึงจะไปถึงจุดหมายได้ การเิ่ริ่มต้นที่ดีในเรื่องการศึกษาคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าจะต้องเริ่มจากครู ครูจะต้องไม่หยุดนิ่ง  ก้าวทันโลก และเตรียมการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน เพื่อจะได้ผลิตคนให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในโลกจริง


แหล่งอ้างอิง : http://phd.mbuisc.ac.th/powerpoint/21stCentury_new.pdf
                       : http://apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-12122555-124333-X1x217.pdf