ตื่นเถิดชาวไทยอย่ามัวหลับใหลลุ่มหลง...ชาติจะเรืองดำรงก็เพราะเราทั้งหลาย
หลายๆคนคงจะเคยได้ฟังเพลงนี้นะคะ...ผู้เขียนอยากจะให้เนื้อเพลงท่อนนี้ปลุกใจให้คนไทยทุกคนตื่นตัวและตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 โลกที่มีเทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อนสังคม โลกที่ทุกคนบนโลกใบนี้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ หรือกล่าวได้ว่าสังคมของเรากว้างขึ้น ซึ่งในปี 2558 เราจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คำถามที่ผู้เขียนมักพบเจอหรือผู้คนมากมายชอบตั้งคือ ประเทศไทยพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนหรือยัง??? ทุกคนถามว่าพร้อมหรือยัง แต่ไม่ได้ย้อนกลับมามองตัวเอง ถามไปงั้นๆแหละ (อีกตั้งนาน อีก 2-3 ปี เดี๋ยวถึงเวลาก็พร้อมเอง คงจะมีคนมิน้อยที่คิดแบบนี้) ก็เพราะคนส่วนใหญ่คิดแบบนี้...จึงทำให้ประเทศของเรายังไม่ถึงจุดที่พร้อม...
คงจะปฏิเสธมิได้ว่าการศึกษาและสังคมนั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
การศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ
และประชาชนทุกคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ดังนั้นการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และ
"ครู" คือ หัวใจหลักในการพัฒนาการศึกษา
พัฒนาคน และพัฒนาชาติ
ถึงเวลาแล้วที่"ครู"จะต้องเปลี่ยนแปลง
เพราะถ้าหากเรายังยึดติดกับกระบวนการ กระบวนทัศน์ หรือวิธีการเดิมๆ ก็จะส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนไม่สอดคล้องกับโลกที่กำลังจะเปลี่ยนไป
รองศาสตราจารย์ ดร. วิสาโรจน์ สารวัตนะ
ได้เสนอประเด็นและข้อคิดจากหนังสือกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา
กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21
ซึ่งในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการใช้ชีวิต ดันั้นครูจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้เทคโนโลยีและรู้จักนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ การจัดการเรียนการสอน จะทำให้ผู้เรียนซึ่งเป็นผู้ที่เข้าถึงเทคโนโลยีรู้สึกสนุกและเกิดแรงจูงใจในการเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางเพิ่มเติม
เดิมห้องเรียนเป็นโลก…ใหม่โลกเป็นห้องเรียน
จะเห็นได้ว่าถ้าเราสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน จะทำให้การเรียนการสอนนั้นมีความยืดหยุ่น ไม่น่าเบื่อ
ทำให้ผู้เรียนและครูไม่เครียด
และควรจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ แบบร่วมมือ หรือให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เสนอในสิ่งที่อยากเรียน เรียนรู้จากการลงมือทำ จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
นอกจากนี้สิ่งที่ครูจะต้องเพิ่มเติมให้กับนักเรียนคือ ทักษะแห่งอนาคตใหม่ ก้าวเรียนรู้ในศตรวรรษที่ 21
ทักษะแห่งอนาคตใหม่จะช่วยให้ผู้เรียนใช้ชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน โลกที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา การยอมรับความแตกต่าง ซึ่งกันและกันได้ดีขึ้น และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ใช่เก็บแต่ความรู้ไว้ในตำราเท่านั้น
จากประเด็นต่างๆที่ผู้เขียนได้ศึกษาและนำเสนอมานั้น จะเกิดขึ้นจริงมิได้หากไม่มีการเริ่มต้น การเริ่มต้นอยากเสมอแต่ทุกๆอย่างจะต้องมีการเริ่มต้นถึงจะไปถึงจุดหมายได้ การเิ่ริ่มต้นที่ดีในเรื่องการศึกษาคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าจะต้องเริ่มจากครู ครูจะต้องไม่หยุดนิ่ง ก้าวทันโลก และเตรียมการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน เพื่อจะได้ผลิตคนให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในโลกจริง
แหล่งอ้างอิง : http://phd.mbuisc.ac.th/powerpoint/21stCentury_new.pdf
: http://apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-12122555-124333-X1x217.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น